กลองยาวคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (กลองยาวชมพูพาน)

กลองยาวคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  (กลองยาวชมพูพาน)

ฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิลปวัฒนธรรมคณะนิติศาสตร์

ประเภทของผลงาน       ด้านศิลปะและวัฒนธรรม สืบสานความเป็นไทย


ความริเริ่มในการสร้างสรรค์ผลงาน / แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน

          การดำเนินการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นภารกิจหลักอีกประการหนึ่งที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย โดยบูรณาการกับการศึกษา วิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ บทบาทที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่ดีก็คือ การดำเนินการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติทั้งในระดับหน่วยงานและระดับสถาบัน การมีระบบและกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา และเป็นกิจกรรมหลักอีกประเภทหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่มิใช่จะเป็นภารกิจของคณะที่มีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะเช่น คณะศิลปกรรม เท่านั้น การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระดับมหาวิทยาลัยจะเป็นการชี้ถึงการทำหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ ทั้งนี้เนื่องจากศิลปวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติพันธุ์ของคนในประเทศที่สามารถจรรโลงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน  มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรการศึกษาที่จะต้องมีบทบาทในการส่งเสริมและคุ้มครองศิลปวัฒนธรรมของพื้นที่เอาไว้
          ปัญหาของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษาที่สำคัญ คือ การก้าวไกลของโลกที่ทันสมัยรวมถึงการไหลของวัฒนธรรมจากต่างประเทศเข้ามา ทำให้การสืบสานศิลปวัฒนธรรมที่ควรจะเป็นตามครรลองของชาติพันธุ์ไม่ได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุนด้วยดี โดยเฉพาะในส่วนของนักศึกษาที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยสังเกตจาการรับผิดชอบต่อหน้าที่ หรือการให้ความสำคัญในงานด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษาที่สถาบันจัดทำขึ้นไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร ปัจจุบันการปลูกฝังความเป็นชาติไม่ได้มุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นสถาบันต่างต้องให้ความสำคัญทางด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยกำหนดให้เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยที่พึงมีต่อสังคม นอกจากนี้ความสำพันธ์ระหว่างเยาวชนกับครอบครัวที่เคยอบอุ่นกลับลดลง มารยาทไทย เอกลักษณความเป็นไทย วัฒนธรรมประเพณีที่ควรอนุรักษไวกลายเป็นเรื่องล้าสมัย ปญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้สงผลตอสังคมในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาตองพัฒนานักศึกษาใหเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ การที่คนไทยเรามีความมั่นคงอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะเรามีเอกลักษณ์ มีวัฒนธรรมไทยที่เป็นวิถีชีวิตของเรา หากละเลยไม่ได้รับความใส่ใจหรือสร้างจิตสำนึกเท่าที่ควรก็คงสูญเสียความดีงามที่สูบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งถ้ายังเป็นอย่างนี้ต่อไปวัฒนธรรมไทยก็อาจจะสูญไปได้เพราะวัฒนธรรมจะต้องมีการสืบสาน ซึ่งผู้ที่จะสืบสานวัฒนธรรมไทยได้ดีก็คือเยาวชน แต่ถ้าเยาวชนหรือนักศึกษาไม่ยอมรับและไม่ยอมสืบสานวัฒนธรรมเราก็จะค่อย ๆ สูญไป และเมื่อใดก็ตามที่วัฒนธรรมของไทยสูญไปเราก็จะสูญชาติเมื่อนั้น มหาวิทยาลัยเป็นผู้ที่ถือว่าต้องรับหน้าที่โดยตรงเป็นภารกิจที่ต้องดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
          ทางคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิลปวัฒนธรรมได้มีแนวคิดและสนใจในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกลองยาวอีสานหรือกลองหาง ซึ่งกลองยาวเป็นศิลปะการแสดงมหรสพที่สร้างความบันเทิงในวิถีชีวิตของชาวไทยมาช้านาน ในภาคอีสานกลองยาวกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านของภาคอีสานที่นิยมเล่นกันในงานประเพณีหรือเทศกาลต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนุกสนานและความสามัคคีของคนในชุมชน กล่าวได้ว่ากลองยาวอีสานเป็นศิลปะดนตรีที่สืบสานมายาวนาน หากย้อนหลังไปในอดีตคนตามหมู่บ้านในชนบทอีสานคงไม่มีใครรู้จักขบวนกลองยาว อันเป็นมรดกทางศิลปะดนตรีชาวอีสานที่ใช้บรรเลงให้ความสนุกสนานบันเทิงตามงานบุญประเพณีต่าง ๆ มาหลายชั่วอายุคน กลองยาวในยุคปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีหลาย ๆอย่างมาประยุกต์เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้นนั่นคือ การใช้การโชว์กลองเป็นจุดขายแล้ว ยังมีเครื่องดนตรีประเภทอื่นมาผสมผสานร่วมด้วย เช่น ใช้พิณ แคน อีเล็กโทนบรรเลงประกอบ มีการใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อให้เสียงพิณหรืออิเล็กโทนดังไกล มีขบวนนางรำฟ้อนประกอบ มีการแต่งขบวนแห่ มีการใช้เครื่องแต่งกายทำเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงการพัฒนาในด้านต่าง ๆเพิ่มมากขึ้น เพื่อทำให้รูปแบบมีความน่าสนใจเป็นที่ชื่นชอบของชุมชน รวมทั้งได้มีการคิดสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆตามภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นตนและยังคงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาติไว้ด้วย

วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

          การดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องมีการดำเนินการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติทั้งในระดับหน่วยงานและระดับสถาบัน มีระบบและกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนโดยตรงหรือโดยอ้อม เพื่อให้ผู้เรียนและบุคลากรของสถาบันได้รับการปลูกฝังให้มีความรู้ตระหนักถึงคุณค่าเกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียะต่อศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องจรรโลงความดีงามในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ มีวิถีชีวิตที่ปรารถนาและเรียนรู้วิธีการจัดการวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ไม่พึงปรารถนาได้ สถาบันมีการควบคุมการดำเนินงานด้านนี้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตามเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของสถาบัน
          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามให้ความสำคัญกับบูรณาการจัดการเรียนรู้ การวิจัย หรือการบริการวิชาการซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม โดยเน้นในท้องถิ่นเป็นสำคัญตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวมทั้งการปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศอย่างเหมาะสม ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของประเภทสถาบัน ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ มีการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมชุมชนให้ทันสมัยตามเทคโนโลยี ตอบสนองความต้องการของสังคมในปัจจุบัน สร้างความร่วมมือในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติหรือนานาชาติด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่มีการดำเนินงานโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

องค์ความรู้/ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ

          รูปแบบการละเล่นกลองยาวของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
          องค์ประกอบของวงกลองยาว แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
               องค์ประกอบของวงกลองยาวแบบดั้งเดิม 1 วง ประกอบด้วย
                    1. กลองยาว
                    2. กลองรำมะนา
                    3. ฉาบ   
               โดยมากจะประกอบด้วยกลองยาวจำนวน 4  ลูก และรำมะนาจำนวน 1 ลูก และฉาบจำนวน 1 คู่ หรือ ประกอบด้วยกลองยาว 1 ลูก กลองรำมะนา 1 ลูก และฉาบ 1 คู่ บางที่หรือบางถิ่นก็มีจำนวนของเครื่องเล่นแต่งต่างกันไป
               องค์ประกอบของวงกลองยาวแบบประยุกต์ 1 วง ประกอบด้วย
                    1. กลองยาว
                    2. กลองรำมะนา
                    3. ฉาบ
                    4. กลองโชโล่
                    5. พิณไฟฟ้า
                    6. เบส
                    7. คีย์บอร์ด
                    8. เครื่องขยายเสียง
                         8.1 ลำโพงฮอร์น
                         8.2 ลำโพงเบส
                         8.3 เครื่องผลิตไฟฟ้า
                    โดยกลองวงกลองยาวประยุกต์  จะมีองค์ประกอบของวง มากกว่าแบบดั้งเดิม โดย 1 วงจะใช้จำนวนของกลองยาว ประมาณ 5-10 ลูก และใช้กลองรำมะนาประมาณ 2 ลูก และฉาบ 2 – 4 คู่ พิณไฟฟ้า 1 ตัว เบส 1 ตัว  และ คีย์บอร์ด 1 ตัว โดยประกอบการเข้ากับเครื่องขยายเสียง เพื่อให้มีเสียงที่กังวานและส่งไปได้ไกลซึ่งปัจจุบันวงกลองยาวส่วนมากจะเป็นวงกลองยาวประยุกต์มากกว่าวงกลองยาวแบบดั้งเดิม 

                จังหวะและกระสวนของกลองยาว

                    จังหวะและกระสวนของกลองยาวนั้นทำหน้าที่ควบคุมจังหวะในวงดนตรีพื้นบ้านอีสานตีเป็นเสียง “ปะ” ตีลงบนหน้ากลองพร้อมกับกดไว้ ตี เสียง “เปิ้ด” โดยใช้ครึ่งฝ่ามือท่อนบนตีลงบนริมหน้ากลองแล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งกดหน้ากลองไว้ทันที ตี เสียง “เปิง” โดยใช้ครึ่งฝ่ามือท่อนบนตีริมหน้ากลองแล้วยกขึ้นทันที  ซึ่งจังหวะและกระสวนกลองยาวแบบดั้งเดิม จะตีไปเป็นจังหวะช้า ๆ เนิบ ๆ  มี อยู่ประมาณ 1-10 จังหวะตีสลับจังหวะวนเวียนกันไป 
                    ส่วนจังหวะและกระสวนของกลองยาวแบบประยุกต์  แบ่งออกเป็นหลายจังหวะ ซึ่งแต่ละจังหวะ จะขื่นอยู่กับการบบรรเลงจังหวะพิณไฟฟ้าหรือจังหวะคีย์บอร์ด ซึ่งการจะบรรเลงในแต่ละจังหวะนั้นจะแตกต่างกันไปช้าเร็วตามจังหวะ อาทิเช่น
                         1. จังหวะภูไท จะมีจังหวะที่ช้าเนิบ ทำให้จังหวะและกระสวนกลองยาว ช้าไปด้วย
                         2. จังหวะลำเพลิน จะมีจังหวะเร็ว เพลิดเพลิน
                         3. จังหวะ 3 ซ่า จะมีจังหวะเร็ว สนุกสนาน ทำให้จังหวะและกระสวนกลองยาว เร็วไปด้วยหรือภาษากลองยาวเรียกว่า “ห่าว” ซึ่งในแต่ละจังหวะกลองยาวจะบรรเลงแตกต่างกันไป ตามจังหวะที่ได้กล่าวมานั้น

                 รูปแบบการจัดแถว การต่อตัว และท่ารำ

                 รูปแบบการจัดแถว โดยมากรูปแบบในขบวนกลองยาวนั้นจะไม่มีรูปแบบตายตัว ในการจัดแถว หรือจัดรูปแบบจะเป็นไปตาม ความเหมาะสมหรือความสะดวกในแต่ละวง แต่โดยมากในการจัดแถวหรือรูปแบบในโชว์วงกลองยาว

การนำไปสู่การไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย

          จากการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกลองยาวอิสานของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามระยะเวลากว่า 7 ปีที่ผ่านมามีชื่อเรียกว่า “กลองยาวชมพูพาน” ได้รับความสนใจจากชุมชนและได้นำการแสดงกลองยาวไปแสดงตามประเพณีวัตฒนธรรมต่าง ๆของท้องถิ่น ซี่งการแสดงกลองยาวของคณะนิติศาสตร์ถือว่าเป็นที่ยอมรับและได้รับความชื่นชมจากชุมชนเป็นอย่างดี พร้อมทั้งสามารถสร้างรายได้ให้เป็นทุนการศึกษาของนักศึกษามาตลอด ถือเป็นการบูรณาการเรียนการสอนการงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนนักศึกษาของคณะนิติศาสตร์ ได้อย่างมีมิติที่น่าสนใจเป็นประโยชน์และปลูกฝังความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลงตัว สร้างเสน่ห์อันหน้าทึ่งสำหรับนักศึกษาทางกฎหมายจนเป็นเอกลักษณ์ พร้อมทั้งได้เข้าถึงชุมชนในที่ต่าง ๆเป็นประสบการณ์ที่สำคัญในการไปประกอบอาชีพทางด้านกฎหมายหรืออาชีพอื่นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจในสภาพและวัฒนธรรม ความเชื่อต่าง ๆในท้องถิ่น สามารถนำองค์ความรู้นี้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในวัยการทำงานได้อย่างดี ส่งผลให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์มีความรู้คู่คุณธรรมนำสังคมได้พัฒนาทั้งระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติต่อไป

แนวปฏิบัติที่ดีของผลงาน                               

          ผลงานที่โดดเด่นด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คือการจัดโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกลองยาวอีสาน เป็นการบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการศึกษาจนทำให้เกิดองค์ความรู้ไปเผยแพร่เพื่อบริการแก่ชุมชนและสังคมในท้องถิ่นซึ่งจังหวัดมหาสารคามตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีกลองยาวอีสานหรือกลองหางถือเป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัด กลองยาวเป็นศิลปะการแสดงมหรสพที่สร้างความบันเทิงในวิถีชีวิตของชาวไทยมาช้านาน ในภาคอีสานกลองยาวกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านของภาคอีสานที่นิยมเล่นกันในงานประเพณีหรือเทศกาลต่างๆ เพื่อสร้างความสนุกสนานและความสามัคคีของคนในชุมชน กล่าวได้ว่ากลองยาวอีสานเป็นศิลปะดนตรีที่สืบสานมายาวนาน หากย้อนหลังไปในอดีตคนตามหมู่บ้านในชนบทอีสานคงไม่มีใครรู้จักขบวนกลองยาว อันเป็นมรดกทางศิลปะดนตรีชาวอีสานที่ใช้บรรเลงให้ความสนุกสนานบันเทิงตามงานบุญประเพณีต่าง ๆ มาหลายชั่วอายุคน กลองยาวในยุคปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีหลาย ๆอย่างมาประยุกต์เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้นนั่นคือ การใช้การโชว์กลองเป็นจุดขายแล้ว ยังมีเครื่องดนตรีประเภทอื่นมาผสมผสานร่วมด้วย เช่น ใช้พิณ แคน อีเล็กโทนบรรเลงประกอบ มีการใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อให้เสียงพิณหรืออิเล็กโทนดังไกล มีขบวนนางรำฟ้อนประกอบ มีการแต่งขบวนแห่มีการใช้เครื่องแต่งกายทำเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงการพัฒนาในด้านต่าง ๆเพิ่มมากขึ้น เพื่อทำให้รูปแบบมีความน่าสนใจเป็นที่ชื่นชอบของชุมชน รวมทั้งได้มีการคิดสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆตามภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นตนและยังคงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาติไว้ด้วย ในปัจจุบันกลองยาวของคณะนิตศาสตร์ได้รับความนิยม จนมีคนจ้างงานให้ไปทำการแสดง ณ ที่ต่าง ๆตามประเพณีชุมชนที่จัดขึ้นสามารถสร้างรายได้ให้กับนักศึกษานำมาใช้เป็นทุนสำหรับการศึกษากฎหมายของคณะนิติศาสตร์ สามารถจบไปประกอบอาชีพ เช่น ทนายความ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น เป็นความภาคภูมิใจให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามอย่างยิ่ง และกิจกรรมของวงกลองยาวคณะนิติศาสตร์ที่ถือว่าสร้างชื่อเสียงไปทั่วโลกคือ การได้รับเชิญไปแสดงกลองยาวและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากผู้เข้าประกวดมิสเตอร์ โกบอล ที่มาจากต่างประเทศกว่า 40 ชาติ แสดงสู่สายตาต่อคนทั้งโลกที่เฝ้าชมการถ่ายทอดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในครั้งนี้ สร้างความประทับใจอย่างมากให้กับคนที่ได้ชมการแสดงจากวงกลองยาวคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม