ต้นแบบเมืองสมุนไพรพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน

ต้นแบบเมืองสมุนไพรพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน

อาจารย์พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์  ผศ.ดร.วสันต์ ปินะเตผศ.ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์  ผศ.ดร.กุลธิดา  ภูมิเหล่าแจ้ง   สำนักบริการวิชาการ

ประเภทของผลงาน       ด้านการวิจัยและนวัตกรรม


ความริเริ่มในการสร้างสรรค์ผลงาน / แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน

     สำนักบริการวิชการ ได้รับโจทย์ปัญหาจากเทศบาลเมืองมหาสารคาม ถึงปัญหาการขาดอัตลักษณ์และจุดเด่นของอาชีพของคนในชุมชน โดยจากการหารือของทางสำนักบริการวิชาการร่วมกันสามฝ่ายประกอบด้วย ภาครัฐ (เทศบาลเมืองมหาสารคาม) ภาคเอกชน (หอการค้าจังหวัด) ภาคประชาชน ได้มีจุดยืนร่วมกันคือการพัฒนา “ต้นแบบเมืองสมุนไพรพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน” โดยได้กำหนดแผนพัฒนาร่วมกันเป็นระยะเวลา 3 ปี ต่อเนื่อง วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนา “ต้นแบบเมืองสมุนไพรพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน” คือ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้นโดยการส่งเสริมให้มีวัตถุดิบสมุนไพรที่มีมาตรฐานตามความต้องการของตลาดเป็นการยกระดับมูลคาผลผลิตใหกับเกษตรกร และขยายชองทางการใชประโยชนการเพิ่มมูลค่าและการจัดทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ตอบโจทย์แก่ตลาด ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่คนในชุมชนได้ จากโจทย์ปัญหาข้างต้น คณะผู้วิจัยได้จัดทำโครงการวิจัย “ต้นแบบเมืองสมุนไพรพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน” โดยดำเนินงานวิจัยตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม PAR (Participatory Action Research) กระบวนการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป้าหมายเพื่อได้ต้นแบบเมืองสมุนไพร ที่ใช้ “ตลาดนำการผลิต”เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาโจทย์ปัญหาของทางเทศบาลและให้เกิดผลประโยชน์แก่ชุมชนอย่างสูงยิ่ง

กรอบแนวคิดการวิจัย

วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

      สำนักบริการวิชาการ ได้ดำเนินงานวิจัยตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR)  3 ขั้นตอน ดังนี้
      ขั้นตอนที่ 1 : การเตรียมการ
            1. คณะผู้วิจัยได้ประชุมหารือกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม และดำเนินการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน สำรวจและศึกษาชุมชน จากนั้นการคัดเลือกชุมชน การเตรียมคนและเครือข่ายสำหรับร่วมการวิจัย โดยคณะผู้วิจัยร่วมประชุมหารือกับภาคีเครือข่ายและกำหนดพื้นที่ชุมชนต้นแบบ

กระบวนการวิจัยแบบ PAR ของเทศบาลมหาสารคามเมืองสมุนไพร

            2. จากการหารือร่วมกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมาย คือ บ้านแมด และบ้านส่องนางใย (บ้านส่องเหนือ) พบว่า ก่อนคณะผู้วิจัยลงพื้นบ้านแมดมีวิสาหกิจชุมชนจำนวน 1 กลุ่ม บ้านส่องนางใยไม่มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และหลังคณะผู้วิจัยลงพื้นที่ให้ความรู้ปรากฏว่าบ้านแมดมีการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพิ่มจำนวน 2 กลุ่ม และบ้านส่องนางใยมีการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพิ่มจำนวน 2 กลุ่ม โดยสรุปพื้นที่บ้านแมดและบ้านสองนางใยมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 5 กลุ่ม
            3. คณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจและศึกษาตลาดสมุนไพรเพื่อหารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมนำสู่การถ่ายทอดแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยได้ทำการสัมภาษณ์คุณโฆษิต เหล่าสุวรรณ ประธานหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม และกรรมการบริหารบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีมหาสารคาม (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และคุณประยงค์ ตันเล กรรมการบริหาร บริษัทประยงค์บ้านไร่สมุนไพร จำกัด  ถึงแนวโน้มของตลาดสมุนไพรไทย ผลจาการสัมภาษณ์กล่าวโดยสรุปได้ว่าพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าสมุนไพรไทยมุ่งเน้นไปยังตลาดสุขภาพและความงาม (Wellness) ยังมีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเหล่านี้ชัดเจนและยังต้องการมาก หากต้องการขายเป็นวัตถุดิบก็ต้องเป็นแปลงปลูกที่ได้รับมาตรฐาน Organic และ GAP  และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรควรสร้างอัตลักษณ์และ Storytelling บอกเล่าเรื่องราวสร้างจุดเด่นให้แก่ผลิตภัณฑ์ ยกระดับสู่ผลิตภัณฑ์ของฝากประจำจังหวัด
            4. คณะผู้วิจัยนำผลสรุปสัมภาษณ์เข้ารายงานต่อเทศบาลเมืองมหาสารคามเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองสมุนไพรร่วมกัน โดยร่วมจัดการแผนพัฒนาเมืองสมุนไพรบรรจุเข้าสู่แผนพัฒนาเมืองมหาสารคามระยะเวลา 3 ปี
            5. ผลจากการร่วมหารือ สรุปแนวทางการพัฒนาเมืองสมุนไพรของเทศบาลเมืองมหาสารคามตามแนวคิด    “ตลาดนำการผลิต”  เป้าหมายทำงานระหว่างสำนักบริการวิชาการ เทศบาลเมืองมหาสารคาม และชุมชน ระยะ 3 ปี ดังภาพ

เป้าหมายการดำเนินโครงการร่วมกับภาคีเครือข่าย

            ผลลัพธ์ในปีที่ 1 จำนวนวิสาหกิจชุมชน และจำนวนแปลงปลูกสมุนไพรที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP และ Organic เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานตลาดรับซื้อต้องการ  
            ผลลัพธ์ในปีที่ 2 ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ต้องการพัฒนา โดยได้ร่วมกันกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ดังนี้ ชาสมุนไพร น้ำมันหอมระเหย ลูกประคบ  ยาหม่อง โดยต้องพัฒนาอัตลักษณ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้กลายเป็นที่รู้จัก
            ผลลัพธ์ในปีที่ 3 การขยายผลสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ และ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้รับการยกย่องให้เป็นของดีของฝากประจำจังหวัดมหาสารคาม

การประชุมหารือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน

ภาพกิจกรรมขั้นตอนสำรวจ ศึกษาชุมชน เตรียมคนและเครือข่าย กับชุมชนที่คัดเลือกแล้ว

      ขั้นตอนที่ 2 : การดำเนินงาน คณะผู้วิจัยทำดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

         ระยะที่ 1 การถ่ายทอดองค์ความรู้
            1. คณะผู้วิจัยดำเนินการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์รู้เรื่องการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องมาตรฐานการปลูกสมุนไพรให้ผ่าน GAP และยกระดับสู่ Organic
            2. คณะผู้วิจัยติดตามการยื่นขอรับรองมาตรฐานการปลูกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
            3. รวบรวมข้อมูล และสรุปผล
            4. นำผลรายงานต่อกลุ่มภาคีเครือข่ายและดำเนินการขั้นตอนต่อไป

        ระยะที่ 2 การพัฒนานวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

            คณะผู้วิจัยดำเนินการพัฒนานวัตกรรมขนาดเล็กเชิงพาณิชย์ที่เหมาะสมแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 2 เครื่อง  ดังนี้
            1. ต้นแบบเครื่องกลั่นน้ำมันสมุนไพรขนาดเล็กสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์
                  1.1) คณะผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาต้นแบบเครื่องกลั่นน้ำมันสมุนไพรขนาดเล็กสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ ขนาดปริมาณ 50 ลิตร  โครงสร้างประกอบด้วย 4 ส่วน คือ หม้อต้ม ฝาหม้อต้ม  ถังควบแน่นไอหอมระเหย และ ระบบน้ำหล่อเย็น และทำการทดลองหาประสิทธิภาพของเครื่อง

แบบร่างสู่ต้นแบบเครื่องกลั่นน้ำมันสมุนไพรที่พัฒนาโดยสำนักบริการวิชาการ

                  1.2) คณะผู้วิจัยดำเนินการทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่อง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วงกำลังทดสอบประสิทธิภาพเครื่อง โดยได้ทดสอบกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรและผลไม้ จำนวน 7 ชนิด ประกอบด้วย ตะไคร้หอม มะกรูด มะนาว ไพล ใบยูคาลิปตัส เปลือกส้มโอ จากการทดลองพบว่า เครื่องสามารถกลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ได้จำนวนน้อยยังต้องมีการปรับปรุงกระบวนการออกแบบเพื่อให้เครื่องต้นแบบกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรเหมาะสมและคุ้มทุนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มากที่สุด

อย่างน้ำมันสมุนไพรบริสุทธิ์ที่กลั่นได้จากต้นแบบเครื่องกลั่นน้ำมันสมุนไพรที่พัฒนาโดยสำนักบริการวิชาการ

            2. ต้นแบบเครื่องบดผงละเอียดขนาดเล็กสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์
                  2.1 คณะผู้วิจัยทำการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องและทำการออกแบบแบบร่างและดำเนินการสร้างต้นแบบเครื่องบดผงละเอียดขนาดเล็ก

แบบร่างสู่ต้นแบบของเครื่องบด

                  2.2 คณะผู้วิจัยทำการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องโดยผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์ ปรับแก้เพื่อความเหมาะสมต่อหน่วยของการลงทุนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

แบบร่างสู่ต้นแบบของเครื่องบด

      ระยะที่ 3 ติดตามร่วมถอดบทเรียนและประเมินผล โดยคณะผู้วิจัยจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน เก็บรวบรวมข้อมูล และสรุปผล

องค์ความรู้/ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ

        องค์ความรู้

            กระบวนการจัดทำ “เมืองสมุนไพร” ที่สามารยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

      ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ

            1. ต้นแบบ “เมืองสมุนไพร” ที่สามารถสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่คนในชุมชนได้เป็นแนวทางพัฒนาเมืองสมุนไพรแก่จังหวัดอื่นๆ ที่สนใจ
            2. ฐานข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรองมาตรฐานการปลูกสมุนไพร GAP และ Organic
            3. นวัตกรรม และ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่ได้รับความคุ้มทรัพย์สินทางปัญญา อาทิเช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เป็นต้น
            4. เครือข่ายภาคีที่มีความเข้มแข็งและพร้อมลงทุนเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง

การนำไปสู่การไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย

      โครงการวิจัย ต้นแบบเมืองสมุนไพรพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นการร่วมมือกันระหว่างสำหรับบริการวิชาการ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ชุมชน  กลุ่มเป้าหมายคือชุมชนบ้านแมด และบ้านส่องนางใย ที่ทางเทศบาลได้กำหนดไว้และมีส่วนร่วมทำวิจัยเชิงปฏิบัติการตั้งแต่เริ่มต้น เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน โดยปีที่ 1 ได้รับการรับรองมาตรฐานการปลูก ปีที่ 2 มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีตลาดรองรับ ปีที่ 3 เป็นต้นแบบและวิศวกรสังคมในการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่กลุ่มชุมชนใหม่ๆ ที่ต้องการพัฒนาตนเอง

แนวปฏิบัติที่ดีของผลงาน

      การพัฒนา ต้นแบบเมืองสมุนไพรมหาสารคาม มีกำหนดเป้าหมายร่วมกันของภาคีเครือข่ายที่ชัดเจน นั่นคือ “ตลาดนำการผลิต” เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน จึงทำให้เกิดความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนงานวิจัย