เมื่อไม่ใช่นักเขียน..แต่ถ้าเห็นความสำคัญงานวิจัยนักศึกษาก็สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ได้

เมื่อไม่ใช่นักเขียน..แต่ถ้าเห็นความสำคัญงานวิจัยนักศึกษาก็สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ได้

อาจารย์อังศุมา ก้านจักร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ประเภทของผลงาน     ด้านการวิจัยและนวัตกรรม


ความริเริ่มในการสร้างสรรค์ผลงาน / แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน

     “เปลี่ยนมุมมองความคิด ตั้งเป้าหมายของตนเองให้มีงานวิจัย 1 เรื่องต่อปี โดยเริ่มต้นจากแนวความคิดง่ายๆ ไม่คิดให้ซับซ้อนเกินไป เพื่อให้เกิดก้าวแรก อาจจะเริ่มจากการส่งบทความในงานที่ไม่ยากจนเกินไปก่อน แต่ทั้งนี้จะต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการดำเนินการไปให้ถึงเป้าหมาย มีแรงจูงใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย มีความอดทน และเสียสละเวลาให้กับงานวิจัย จนกระทั้งได้ผลงานวิจัยที่เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดและสามารถเขียนเป็นบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นมุมมองความคิดที่ว่า ลองเปลี่ยนวิธีคิด..แล้วสร้างความสำเร็จด้วยการลงมือทำ”         

วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

      ในกระบวนการวิจัย ขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งคือ การเผยแพร่ผลงานวิจัยหลังการทำวิจัยเสร็จสิ้น

ไม่ว่างานวิจัยนั้นจะเป็นแค่ข้อมูลพื้นฐาน การสำรวจ หรือการวิเคราะห์ข้อมูล แต่การตีพิมพ์ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้งานของเราไม่หายไปจากโลกนี้ ทำให้ผู้อื่นเข้าใจมุมมองแนวคิดของเราและเกิดแนวคิดใหม่ที่จะต่อยอด   องค์ความรู้ ซึ่งวิธีดำเนินการที่ทำให้งานสำเร็จดังแผนผังขั้นตอนนี้

องค์ความรู้/ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ

      เมื่อเราเปลี่ยนมุมมองความคิด “เราก็จะมีมุมมองด้านผลลัพธ์ในภาพรวม” คือ การพัฒนาตนเอง พัฒนาศักยภาพในตัวนักศึกษา พัฒนาองค์กร และพัฒนาผลงานวิจัยที่เผยแพร่สู่สาธารณะ”
      งานวิจัย 1 เรื่อง นักศึกษาสามารถกำหนดหัวข้องานวิจัยจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวหรือจากรายวิชาสอนและได้ร่วมลงมือปฏิบัติ อาจารย์ที่ปรึกษามีส่วนร่วมคอยกระตุ้น กำกับติดตามและรับผิดชอบ เพื่อนร่วมงานในสาขาฯ ช่วยกันตรวจสอบข้อมูลและประเมินความถูกต้อง จากการสอบเค้าโครงวิจัยและสอบวิจัย 5 บท จนทำให้ได้งานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ 1 เรื่องต่อปีที่สำคัญได้เห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยในระดับปริญญาตรีที่สามารถพัฒนาศักยภาพต่อยอดไปจนถึงระดับที่ตีพิมพ์เผยแพร่ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา อีกทั้งยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับทีมผู้วิจัยและสถาบันด้วย

การนำไปสู่การไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย

      ความสำเร็จจากการที่เราเปลี่ยนมุมมองความคิดทำให้เกิดการพัฒนาความรู้ สร้างการเปลี่ยนแปลง และได้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย โดยการนำไปเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ อย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง” ซึ่งมาจากฐานข้อมูลงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ แต่ทั้งนี้เราก็ต้องพร้อมรับสภาพความล้มเหลวและความสำเร็จของงานวิจัยในคราวเดียวกันด้วย เพราะผลการตอบรับจากบรรณาธิการของวารสารอาจต้องใช้เวลา ซึ่งอาจต้องมีการแก้ไขบทความ ทำวิจัยบางส่วนเพิ่มเติม หรืออาจถูกปฏิเสธได้ แต่ทั้งนี้ทุกคนล้วนมีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ ถ้าให้ความสำคัญและลงมือปฏิบัติทำ

แนวปฏิบัติที่ดีของผลงาน                   

      ทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนา มองปัญหาด้านการวิจัยและปัญหาด้านเวลาเป็นเรื่องท้าทายและหาแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ สร้างพลังบวกในทีมระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อเป็นกลไกและแรงขับเคลื่อนที่มหาศาลสู่การเติบโตและพัฒนาศักยภาพผลงานวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นที่มาของหัวข้อ KM ที่ว่า “เมื่อไม่ใช่นักเขียน..แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองความคิด..แลเห็นความสำคัญ…ศักยภาพของงานวิจัยนักศึกษาก็สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ TCI ฐาน 1 ได้”

ผลงานวิจัยระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2563 เป็นที่ปรึกษางานวิจัย 2 กลุ่ม นักวิจัยรวม 6 คน
สามารถเขียนบทความวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติได้ 1 บทความ

ในการวางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้งานวิจัยสำเร็จและบรรลุเป้าหมายในปีการศึกษา 2563 นั้น ทีมวิจัย ได้กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน มีการรายงานความก้าวหน้า ติดตามงานตามปฏิทิน ทำให้ทีมวิจัยสามารถขึ้นสอบเค้าโครงวิจัยและสอบโครงการวิจัยได้ตรงตามกำหนดแผนงานที่วางไว้ จากนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาก็นำบทความวิจัยทั้ง 2 เรื่องมาเขียนเป็นบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ โดยได้ทำการส่งบทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติ TCI 1 ของวารสารบูรพา เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 จากนั้นบรรณาธิการส่งบทความให้แก้ไขตามแบบฟอร์มเดือนกันยายน และผ่านการ Reviewer จากกรรมการแล้ว 3 ท่าน เมื่อเดือนธันวาคม 2564 โดยให้ทำการแก้ไข และไม่ได้ Reject ปัจจุบันส่งบทความวิจัยแก้ไขให้บรรณาธิการวารสารพิจารณาเป็นที่เรียบร้อย

ผลงานวิจัยระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 เป็นที่ปรึกษางานวิจัย 2 กลุ่ม นักวิจัยรวม 4 คน
สามารถเขียนบทความวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร

ในการวางแผนการดำเนินงานเพื่อให้งานวิจัยสำเร็จและบรรลุเป้าหมายปีการศึกษา 2564 อาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับผิดชอบทีมวิจัย 2 กลุ่ม และได้กำหนดปฏิทินการดำเนินงานร่วมกัน มีการกระตุ้นการทำงาน รายงานความก้าวหน้า ติดตามงานตามปฏิทิน ทำให้ทีมวิจัยสามารถขึ้นสอบเค้าโครงวิจัยและสอบโครงการวิจัย พร้อมทั้งเข้าเล่มได้ตรงตามกำหนดแผนงานที่วางไว้ โดยขึ้นสอบเค้าโครงวิจัยช่วงเดือนสิงหาคม ทำวิจัยเดือนกันยายน สอบโครงการวิจัยเดือนพฤศจิกายน และสามารถเข้าเล่มวิจัยเรียบร้อยภายในเดือนธันวาคม 2564 จากนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาก็นำบทความวิจัยทั้ง 2 เรื่อง มาเขียนบทความวิจัยแล้วเสร็จ 1 บทความ ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างให้ทีมงานช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำเข้าในระบบตีพิมพ์ในวารสารต่อไป