แฟชั่นนำสมัยด้วยผ้าฝ้ายพิมพ์สีจากธรรมชาติคุณค่าทั้งศาสตร์และศิลป์เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้

แฟชั่นนำสมัยด้วยผ้าฝ้ายพิมพ์สีจากธรรมชาติคุณค่าทั้งศาสตร์และศิลป์เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้

อาจารย์พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์  ผศ.ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์  สำนักบริการวิชาการ

ประเภทของผลงาน       ด้านศิลปะและวัฒนธรรม สืบสานความเป็นไทย


ความริเริ่มในการสร้างสรรค์ผลงาน / แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน

           สำนักบริการวิชการเล็งเห็นความสำคัญของศิลปะและวัฒนธรรมสืบสานความเป็นไทย จากแรงบันดาลใจในการลงพื้นที่บริการวิชาการแก่ชุมชนและได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับชุมชน เกิดคำถามจากคนในชุมชนว่าภูมิปัญญาของท้องถิ่นจะสามารถได้รับความสนใจหรือสร้างรายได้ ได้จริงหรือไม่ ? เมื่อคณะทำงานได้นำคำถามนี้กลับมาวิเคราะห์ พร้อมท้าทายศักยภาพของทีมงานให้พิสูจน์คำตอบ นั่นคือ สำนักบริการวิชาการจะสามารถนำ “ผ้าฝ้ายทอมือ” ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านหนองโนใต้ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จะกลายเป็นแฟชั่น (Fashion)  หนึ่งใน F ของวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5F ได้หรือไม่  
          จากแรงบันดาลใจที่เต็มเปี่ยมของคณะทำงาน สำนักบริการวิชาการได้ลงมือดำเนินการระดมความคิดเพื่อนำความงดงามที่ธรรมชาติรวมเข้ากับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ก่อกำเนิดอำนาจด้านแฟชั่นที่ทำให้เยาวชน-คนรุ่นใหม่เข้าถึง คำว่า “แฟชั่น” + “ผ้าไทย” จึงถูกตีความในมิติที่แตกต่างออกไป หากแต่ยังคงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ซึ่งแก่นสานและรากฐานที่ข้ามผ่านกาลเวลาจากยุคมาสู่ยุค โดยนำเทคนิคผ้าพิมพ์สีธรรมชาติ (Eco Printing) ผสมผสานการออกแบบร่วมสมัย คณะทำงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายพิมพ์สีธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์ของการรักษาความสมดุลของธรรมชาติและยังสร้างศิลปะแฟชั่นที่ให้ทั้งคุณค่าและมูลค่าแก่คนในชุมชน

วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

          สำนักบริการวิชาการ ได้ดำเนินงานจัดกิจกรรมเป็น 2 ระยะ ดังนี้
               ระยะที่ 1 : กิจกรรมการพิมพ์ลายผ้าจากสีธรรมชาติ
                    1. จัดประชุมระดมความคิด เพื่อหารูปแบบในการจัดกิจกรรมแฟชั่นนำสมัยด้วยผ้าฝ้ายพิมพ์สีจากธรรมชาติคุณค่าทั้งศาสตร์และศิลป์ เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้

                    2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการย้อมสีผ้าด้วยธรรมชาติ ที่เหมาะสมกับหมู่บ้านหนองโนใต้
                    3. จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การพิมพ์ลายผ้าด้วยสีธรรมชาติ โดยผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน  คือ อาจารย์สรัญญา ภักดีสุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอาจารย์ธรรมนูญ พัดมะนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
                    4. ลงมือสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ใบไม้เทคนิคภาพพิมพ์โดยใช้ใบไม้ที่สามารถหาได้ตามท้องถิ่น เช่น ใบยูคาลิปตัส ใบสบู่ดำ และใบสบู่แดง เป็นต้น และร่วมกันวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์

                         5. จัดกิจกรรมถอดบทเรียนและสรุปผลการเรียนรู้

                         6. สรุปและประเมินผลบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินงาน

               ระยะที่ 2 : กิจกรรมการออกแบบและตัดเย็บเสื้อจากผ้าที่พิมพ์ลายจากสีธรรมชาติ
                         1. ออกแบบรูปแบบเสื้อที่ต้องการ โดยได้ทำการออกแบบมาทั้งสิ้น จำนวน 4 แบบ ดังภาพ

ภาพที่ 1 : แบบร่างแบบเสื้อ

                         2. จัดทำแบบสำรวจแบบเสื้อโดยได้สอบถามความชื่นชอบจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 75 คน พบว่า นักศึกษาร้อยละ 49 เลือกแบบร่างเสื้อแบบที่ 1 คณะผู้จัดทำจึงเลือกแบบที่ได้รับผลการตอบรับที่มากที่สุด

                         3. จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคนิคการตัดเสื้อแบบร่วมสมัยโดยผู้เชี่ยวชาญให้แก่กลุ่มผู้นำชุมชนบ้านหนองโนใต้
                         4. ทำการสร้างแบบตัด และตัดเสื้อต้นแบบเพื่อนำมาพิจารณาร่วมกัน
                         5. นำเสื้อต้นแบบที่ผ่านการประเมินแล้ว รับการประเมินความพึงพอใจจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 44 คน

องค์ความรู้/ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ

          องค์ความรู้
               ชุมชนได้รับองค์ความรู้เรื่องการพิมพ์ลายผ้าจากสีธรรมชาติ
          ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ               
               ผ้าฝ้ายพิมพ์สีจากธรรมชาติ ที่กลายเป็นแฟชั่น มีคุณค่าทั้งศาสตร์และศิลป์สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

ภาพที่ 3 : ผ้าพิมพ์ลายจากสีธรรมชาติก่อนตัดเป็นเสื้อ

การนำไปสู่การไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย

          ทำให้เกิดการความรู้รูปแบบแฟชั่นสมัยนิยมที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าสมัยใหม่เกิดการสร้างรายได้จากกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ  

แนวปฏิบัติที่ดีของผลงาน  

          “Fashion ส่งเสริมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ”

ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติเทคนิค eco-print