TC-RMU Brand Awareness : ติดปีกทุกฝันสู่ทางเลือกอาชีพที่มากกว่า 1

TC-RMU Brand Awareness: ติดปีกทุกฝันสู่ทางเลือกอาชีพที่มากกว่า 1

อาจารย์บรรจง บุรินประโคนสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ประเภทของผลงาน       ด้านบริหารจัดการและประกันคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ


ความริเริ่มในการสร้างสรรค์ผลงาน / แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน

            TC-RMU Brand Awareness : “ติดปีกทุกฝัน สู่ทางเลือกอาชีพที่มากกว่า 1” เป็นกลยุทธ์สำคัญในการรับนักศึกษาของทางสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หลังจากที่ปีการศึกษาที่ผ่านมา หลักสูตรได้ประชุมและให้ความสนใจในเรื่องของการรับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากทุกปีที่ผ่านมา ทางหลักสูตรได้สร้างกลยุทธ์และปรับกลยุทธ์ในการรับนักศึกษาอย่างเสมอมา อนึ่ง กลยุทธ์ที่ถือเป็นกลยุทธ์หลักของหลักสูตรก็คือ กลยุทธ์ “Brand Awareness” กล่าวคือการสร้างการรับรู้ให้กลุ่มเป้าหมายต่อองค์กร ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการจดจำแบรนด์ของเรา และเพื่อให้กลายเป็นคำแทนชื่อสามัญ (Generic Name) หากพูดถึง “ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ก็ต้องคิดถึงหลักสูตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม TC-RMU”  อนึ่ง เป็นการสร้างภาพจดจำในอัตลักษณ์ (Identity) ของสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร “ติดปีกทุกฝันสู่ทางเลือกอาชีพที่มากกว่า 1” และสร้างความตระหนักในภาพลักษณ์ (Image) ของสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร แรงบันดาลใจในการสร้างผลงานจึงเกิดจากการต้องการสร้างการรับรู้ในวงกว้างให้กับหลักสูตรเพื่อเป็นการส้รางความเท่าทันในโลกยุคการสื่อสารออนไลน์ และการปรับตัวเพื่อเข้าสู่การศึกษาในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง

วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

            สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มีการประชาสัมพันธ์ระบบการรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารต่อสาธารณชนในวงกว้าง ทั้งนี้ สำหรับขั้นตอนการดำเนินการ หลักสูตรมีการพัฒนาระบบและกลไกการรับนักศึกษา โดยยังใช้ระบบกลไก 11 ขั้นตอน แต่ได้เพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ “Brand Awareness” เพื่อสร้างการรับรู้ให้กลุ่มเป้าหมายต่อองค์กร เพื่อให้เกิดการจดจำแบรนด์ของเราในปีการศึกษา ดังนี้
                  1. กำหนดจำนวนเป้าหมายจำนวนการรับนักศึกษา
                  2. กำหนดเกณฑ์การรับนักศึกษาตาม ปรัชญา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย และหลักสูตรฯ
                  3. ทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุก
                  4. ประกาศรับสมัครนักศึกษาโดยมหาวิทยาลัย
                  5. กระบวนการสร้างสำนึกความผูกพันต่อองค์กรหรือ Commitmentเป็นการสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน(Partisan) โดยมีนักศึกษาในหลักสูตรเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อน นักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปี รวมถึงบัณฑิตที่จบไปแล้วจะมีส่วนร่วมกันในการคิดออกแบบ เสนอแนวทางในการสื่อสารให้นักเรียนระดับมัธยมเห็นคุณค่าความสำคัญของสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1และปีที่ 2 จะมีบทบาทมากเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มี Generation เดียวกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
                  6. ดำเนินการจัดสอบสอบสัมภาษณ์และประกาศผลสอบ
                  7. กลยุทธ์การสร้างความประทับใจ First Impressionในการสอบสัมภาษณ์ เนื่องจากการสอบสัมภาษณ์รอบที่ผ่านมานักศึกษากลุ่มเรียนดีที่ยืนยันสิทธิ์ คือนักศึกษาที่เข้ามาสัมภาษณ์ที่หลักสูตรโดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จัดกิจกรรมสร้างความประทับใจคือ การจัดพื้นที่สอบสัมภาษณ์บริเวณห้องหลักสูตรมีห้องพักรับรอง มีการแบ่งหน้าที่รุ่นพี่เพื่อให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวก บริการน้ำดื่ม มีการเปิดวีดิทัศน์เกี่ยวกับสาขา แนะนำรุ่นพี่บัณฑิตที่ประสบความสำเร็จ โดยมีตัวแทนอาจารย์ให้การต้อนรับ
                  8. กลยุทธ์ “Brand Awareness” การสร้างการรับรู้ให้กลุ่มเป้าหมายต่อองค์กร เพื่อให้เกิดการจดจำแบรนด์ของเรา กล่าวคือ เป็นการสร้างภาพจดจำและสร้างความตระหนักในภาพลักษณ์ของสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เป็นการสร้างความประทับใจให้กับกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยทางสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้มีการจัดโครงการประกวด “เรื่องสั้นหักมุม” และโครงการประกวด  “TC Creative Contest 2022” ผ่าน Facebook สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร : RMU ทั้งนี้ ยังได้ปรับปรุงกระบวนการโดยการเพิ่มการรับรู้และการเข้าถึง โดยการปรับปรุงกระบวนการกลยุทธ์การทำคอนเทนต์ที่ใช้สำหรับการคัดกรองและเลือกลูกค้าที่มีคุณสมบัติตรงตามที่เราต้องการ (Content Marketing Funnel) ผ่านคอนเทนต์ต่างๆ
ของสาขาในรูปแบบที่เรากำหนดและสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีบนโลกออนไลน์ ต่อการเพิ่มการรับรู้และการเข้าถึงแบรนด์ของสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
                  9. นักศึกษารายงานตัวผ่านระบบออนไลน์
                  10. ดำเนินกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับ มคอ.2
                  11. หลักสูตรฯ ประเมินระบบการรับนักศึกษาและปรับกระบวนการรับนักศึกษาที่ได้มาปรับปรุง/พัฒนา

องค์ความรู้/ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ

            การเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ “Brand Awareness” เพื่อสร้างการรับรู้ให้กลุ่มเป้าหมายต่อองค์กร เกิดการจดจำแบรนด์สาขาของเรา โดยผ่านการจัดโครงการประกวด“เรื่องสั้นหักมุม” และโครงการประกวด  “TC Creative Contest 2022” ผ่าน Facebook สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร : RMU ทำให้เกิดองค์ความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์ อนึ่ง ทั้งยังเป็นการคัดสรรการรับนักศึกษาในแง่ของการพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อันเป็นทักษะพื้นฐานของการเตรียมความพร้อมในการรับนักศึกษาเพื่อเขาศึกษาต่อในทุกปี
            ทั้งนี้ การปรับปรุงกระบวนการกลยุทธ์การทำคอนเทนต์ที่ใช้สำหรับการคัดกรองและเลือกลูกค้าที่มีคุณสมบัติตรงตามที่เราต้องการ (Content Marketing Funnel) ผ่านคอนเทนต์ต่างๆ ของสาขาในรูปแบบที่เรากำหนดและสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีบนโลกออนไลน์ ต่อการเพิ่มการรับรู้และการเข้าถึงแบรนด์ของสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการรับรู้ผ่านคอนเทนต์จาก 5 รูปแบบที่น่าสนใจ 1.Blog posts 2. Video 3. Infographics 4. Ebook 5. Audio Podcasts โดยทางสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้มีการใช้ข้อความรับรองของลูกค้า (ความคิดเห็นของนักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษา) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างการรับรู้ ผ่าน Blog posts การจัดโครงการประกวดเรื่องสั้นหักมุม และโครงการประกวด  “TC Creative Contest 2022” งานเขียน ภาพถ่าย คลิวีดีโอ ผ่าน Ebook ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรเพื่อให้เกิดการรับรู้และจดจำ และยังเป็นการสร้างอัตลักษณ์ (Identity) ขององค์กร ให้เป็นที่รู้จัก และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ (Relation) ให้แก่นักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างขึ้นและสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในสาขา หลังจากครั้งที่ผ่านมาได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ ส่งผลให้การรับนักศึกษา เป็นไปตามเป้าหมายที่หลักสูตรได้วางแผนกลยุทธ์การรับนักศึกษาไว้

การนำไปสู่การไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย

            กลยุทธ์ “Brand Awareness” หรือกลยุทธ์การสร้างการรับรู้ให้กลุ่มเป้าหมายต่อองค์กร ของเรา ผ่านการจัดโครงการประกวด“เรื่องสั้นหักมุม” และโครงการประกวด  “TC Creative Contest 2022” ผ่าน Facebook สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร : RMU นอกจากจะทำให้เกิดองค์ความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างแล้ว ยังสร้างจดจำหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีอยู่ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ให้รับรู้เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของทางสาขา รวมถึงศักยภาพของสาขาในการเรียนการสอน การพัฒนานักศึกษา เพื่อที่จะก้าวสู่อาชีพที่ต้องการในอนาคต อนึ่ง เพื่อให้กลายเป็นคำแทนชื่อสามัญ (Generic Name) หากพูดถึง “ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ก็ต้องคิดถึงหลักสูตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม TC-RMU” เป็นการสร้างภาพจดจำในอัตลักษณ์ (Identity) ของสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร “ติดปีกทุกฝัน สู่ทางเลือกอาชีพที่มากกว่า 1” และสร้างความตระหนักในภาพลักษณ์ (Image) ของสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร และยังเป็นการประยุกต์ปรับตัวของทางหลักสูตร สู่การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ภายใต้องค์ความรู้ใหม่ที่มีความเป็นสหวิชาการ ทำให้นักศึกษาที่กำลังจะเข้ารับการศึกษาได้รับรู้เอกลักษณ์ของสาขา ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษา และกล้าตัดสินใจในการเลือกที่จะศึกษาในสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้อย่างภาคภูมิใจ

แนวปฏิบัติที่ดีของผลงาน  

            หลังจากประเมินระบบการรับนักศึกษา ตามกระบวนการดำเนินงานทั้ง 11  ขั้นตอน  หลักสูตรได้ทบทวนและประเมินกระบวนการพบว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และยังถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายเชิงปริมาณ และคุณภาพดังนี้
            1. มีระบบการรับนักศึกษาที่สามารถคัดผู้เรียนที่มีคุณภาพเหมาะสมกับหลักสูตรและมีศักยภาพในการเรียนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร              
            2. มีการประชาสัมพันธ์ระบบการรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ต่อสาธารณชนในวงกว้างในรูปแบบที่ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน